ค่าของคนอยู่ที่ผลงาน คุณของคนอยู่ที่การฝึกฝนนำตนให้พ้นจากทุกข์ เศษแก้วในทะเล
ขัดเกลานานเข้า ยังกลายเป็นแก้วทะเลมีค่าน่าสะสม เศษคนในทะเลชีวิต ขัดเกลามากเข้า
ย่อมกลายเป็นแก้วทรงคุณค่า ในมหาสมุทรแห่งพุทธธรรม

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทศพิธราชธรรม


          
      ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้
  • ทาน (ทานํ) คือ การให้
  • ศีล (สีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ
  • บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขสวนตนเพื่อความสุขส่วนรวม
  • ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน
  • ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน
  • ความเพียร (ตปํ) คือ ความเพียร
  • ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) คือ การไม่แสดงอาการโกรธ
  • ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง การผลิต การบริโภคที่สมดุลไม่เน้นประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันแย่งชิงจนเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นและทำลายสิ่งแวดล้อม
  • ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว
  • ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก



มรรคมีองค์ ๘


                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระการตูน     

๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ

ทุกข์

เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)

ความดับทุกข์ (นิโรธ)

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)
๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่

ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ)

ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น

ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่

 ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา)

 ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย)

 ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย)

 ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)
๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่

การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต)

การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน)

การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)
๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ

เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์

เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส

เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร

เว้นจากการค้าขายน้ำเมา

เว้นจากการค้าขายยาพิษ
๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่

เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น

เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว

เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น

เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่
๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ

พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก

พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่

พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด

พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ
๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ



         ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑

         ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒

         ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓

         จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔



หลักแห่งการปฏิบัติธรรม ๕ ประการ

         


                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธรรมะ


          ๑. ศีล  ด้วยการทำตนให้สงบ  ระวังความชั่วทางกาย - ใจ
          ๒.  สมาธิ  ต้องฝึกจิต  อบรมจิตให้ระงับความวิตกฟุ้งซ่าน
          ๓. ปัญญา  ต้องศึกษาลักษณะจิตด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง  ในหลักแห่งความจริง
          ๔. วิมุตติ  ต้องเข้าใจลักษณะแห่งจิต  ที่พ้นจากเพลิงทุกข์  ว่าเป็นอย่างไร
          ๕. วิมุตติญาณทัสสนะ ต้องศึกษาถึงความรู้จักตน  ว่าอย่างไรจึงรู้แน่
กายสุจริต  วจีสุจริตต  มโนสุจริต

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สาราณียธรรม 6



      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สามัคคี คือ พลัง การ์ตูน  
  ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน 6 ประการ เป็นคุณธรรมที่ทำให้คนเราไม่เห็นแก่ตัว แต่จะคิดถึงคนอื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ระลึกถึงกัน ผูกพันเชื่อมโยงบุคคลไว้ด้วยน้ำใจ
สาราณียธรรม 6 สำหรับฆราวาส
          1. เมตตากายกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง ทำสิ่งใดก็ทำด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่นเช่น แสดงไมตรีจิต และหวังดีต่อมิตรสหาย เพื่อนร่วมงาน บุคคลรอบข้าง โดยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ด้วยความเต็มอกเต็มใจ พร้อมกับประพฤติตนอย่างสุภาพ สม่ำเสมอ ให้ความเคารพ และจริงใจต่อผู้อื่นแม้ในยามหน้า และลับหลัง
          2. เมตตาวจีกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ พูดกันด้วยเมตตา หมายถึง จะพูดอะไรก็พูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน เช่น การให้ความรู้ หรือคำแนะนำที่ดีต่อผู้อื่น กล่าววาจาสุภาพ พูดจริง ไม่พูดเพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองฝ่ายเดียว
         3. เมตตามโนกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ คิดต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง จะคิดสิ่งใดก็ให้คิดในสิ่งที่ดี และคิดด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เช่น ตั้งจิตปรารถนาที่จะทำคุณงามความดี คิดมั่นในการสร้างบุญกุศล และมีจิตเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความหวังดี
          4. สาธารณโภคี แห่งสาราณียธรรม 6 คือ แบ่งปันสิ่งที่ได้มาโดยชอบธรรม หมายถึง แบ่งปันลาภผลที่ร่วมกัน หาร่วมกันทำโดยยุติธรรมแม้สิ่งของที่ได้มาจะน้อย แต่ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วถึงกันนั้น คือ การร่วมสุข ร่วมทุกข์กัน
          5. สีลสามัญญตา แห่งสาราณียธรรม 6 คือ มีความประพฤติเสมอภาคกัน หมายถึง ประพฤติสุจริตในสิ่งที่ดีงามอย่างสม่ำเสมอ ประพฤติตนอย่างมีระเบียบวินัยเหมือนผู้อื่น ไม่ประพฤติตนในทางแตกแยกจนเป็นที่ขัดข้องหมองใจต่อผู้อื่นหรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ
         6. ทิฏฐิสามัญญตา แห่งสาราณียธรรม 6 คือ มีความเสมอภาคกันทางความคิด และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น หมายถึง ปรับความคิดความเห็นให้มีเหตุมีผลถูกต้องเหมือนกับผู้อื่น และหมู่คณะภายใต้เหต และผลในทางที่ดีงาม พร้อมกับเคารพเหตุผล ยึดหลักความดีงามเป็นอุดมคติอย่างสม่ำเสมอ
สาราณียธรรม 6 สำหรับภิกษุ สามเณร
          1. เมตตากายกรรม คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลาย พึงกระทำสิ่งใดก็ต้องให้ยึดมั่นด้วยความเมตตา ได้แก่ การแสดงความมีน้ำใจช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ ที่ควรของเพื่อนภิกษุสามเณร ของเพื่อนอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นต่อหน้าหรือลับหลังก็ตาม
          2. เมตตาวจีกรรม คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลายพึงกล่าววาจาที่ประกอบขึ้นด้วยเมตตา ได้แก่ การพูดวาจาที่เป็นคำสัตย์ คำจริง คำสมานสามัคคีด้วยคำไพเราะ น่าฟัง และคำที่มีประโยชน์ภายใต้พื้นฐานที่มาจากความเมตตา และจิตอันบริสุทธิ์ต่อคนที่ตนพูดด้วย และคนที่พูดถึง พูดต่อหน้าอย่างไร ลับหลังก็ต้องพูดอย่างนั้น ลับหลังพูดอย่างไร ต่อหน้าก็ควรพูดอย่างนั้น
          3. เมตตามโนกรรม คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลายพึงระลึกในจิตที่มีเมตตา ได้แก่ การตั้งความรู้สึกในคนและสัตว์ทั้งหลายว่า ชีวิตแต่ละชีวิตไม่ต้องการความทุกข์ แต่ต้องการความสุขฉันใด เพราะฉะนั้นขอให้บุคคลนั้นๆ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ประทุษร้ายกัน ให้แต่ละคนอยู่ดีมีสุขตามสมควรแก่ฐานะของตน เมื่อจะคิดถึงใครก็ตามไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่า เป็นภิกษุสามเณรเท่านั้น ให้คิดถึงกันด้วยเมตตา และพร้อมที่จะแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทั้งต่อหน้า และลับหลังบุคคลเหล่านั้น
          4. สาธารณโภคี คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลาย พึงแบ่งปันภัตตาหารหรือสิ่งของของตนให้แก่เพื่อนภิษุสามเณรด้วยกัน พึงละเว้นจากความเห็นแก่ตัวไม่แบ่งปันผู้อื่น คือ หลักการอยู่ร่วมกันของพระภิกษุสามเณรนั้น ต้องรู้จักเที่ยวบิณฑบาตอาหารจากชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธา เป็นการได้อาหารมาในทางที่ชอบธรรม แต่ว่าการได้ปัจจัย 4 นั้น คนเรามีวาสนาบารมีไม่เหมือนกัน บางคนได้มากจนเหลือกินเหลือใช้ บางคนได้น้อยจนไม่ค่อยพอกินพอใช้ เพราะฉะนั้นคนที่ได้ลาภผลมาในทางที่ชอบมาก จึงต้องแสดงออกซึ่งทางกายกรรมทางวจีกรรม ที่สะท้อนมาจากใจ ด้วยการเอื้อเฟื้อแบ่งปันเป็นการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ เฉลี่ยความสุขให้แก่กัน และกัน
          5. สีลสามัญญตา คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลาย พึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์เสมอกัน เนื่องด้วยการอยู่ร่วมกันของพระภิกษุ สามเณรนั้น ก็เป็นสังคมหนึ่งที่คล้ายกับฆราวาส มีผู้มากบ้าง และมีผู้รู้น้อยบ้าง แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการประพฤติปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้ที่เกี่ยวข้องกันแม้จะเป็นเพื่อนรักร่วมใจกัน ถ้าคนหนึ่งละเมิดศีลที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้จะกลายเป็นที่รังเกียจ ดูหมิ่นของเพื่อนภิกษุสามเณรด้วยกัน การอยู่ร่วมกันโดยปกติสุขที่ประสงค์จะเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องพยายามปฏิบัติตนให้ถูกต้องตรงตามหลักของศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้โดยให้มองว่า ข้อนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้อย่างไร ใครปฏิบัติถูกต้องตรงหลักที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ก็ปฏิบัติไปตามเขา ทำให้เกิดเป็นความเรียบร้อยสวยงามขึ้นที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า สังฆโสภโณ คือ หมู่คณะที่งดงาม
          6. ทิฏฐิสามัญญตา คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลาย พึงมีความเห็นร่วมกัน และเคารพความเห็นของผู้อื่นเสมอ ไม่พึงวิวาทกันเอง เพราะเพียงความเห็นที่ไม่ตรงกัน โดยในฐานะของภิกษุในพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นความเห็นเกี่ยวกับวินัย ก็ต้องเอาวินัยเป็นมาตรการกำหนดตัดสินว่า ความเห็นของใครถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมะก็ตรวจสอบเทียบเคียง สอบทานหลักธรรมะว่า ข้อนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างไร แล้วก็หาจุดกลางทางความคิดมาพบกัน แต่บางอย่างเป็นเรื่องของกิจการงาน หรือแม้แต่เรื่องความเห็นทั่วไป อาจจะมีความขัดแย้งในหลักการ และวิธีการบางอย่าง แต่ว่าสามารถประสบผลเช่นเดียวกันได้ ก็ต้องรู้จักผ่อนปรนไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท เพราะเหตุว่าความเห็นขัดแย้งกัน เว้นไว้แต่บุคคลนั้นมีความเห็นขัดแย้งกับธรรมวินัย ซึ่งภิกษุสามเณรรู้ห่วงใยในพระพุทธศาสนา จะต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะขจัดปรับการวิวาทเหล่านั้นให้ยุติลงด้วยความเรียบร้อย


สมาธิ3

                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นั่งสมาธิ

สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1.ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วครู่ ชั่วขณะหนึ่ง เป็นสมาธิขั้นต้นที่บุคคลทั่วไปใช้ในการปฎิบัติหน้าที่ในการงานประจำวัน
2.อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่ตั้งได้นานหน่อย ใกล้ที่จะได้ฌาน เกิดนิมิตต่างๆ เช่นเห็นแสงสว่างอยู่ระยะหนึ่ง
3.อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่ถึงฌาน เป็นการทำสมาธิขั้นสูงสุด

ไตรลักษณ์


สิ่งทั้งหลายทั้งปวงประกอบอยู่ด้วยลักษณะอันเรียกว่า ไตรลักษณ์ หรือลักษณะ 3 ประการคือ

          1. อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง มีหมายความว่า สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไป
ไม่มีความคงที่ตายตัว

          2. ทุกขัง แปลว่า เป็นทุกข์ มีหมายความว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทุกข์มองดูแล้วน่าสังเวชใจ
ทำให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้ที่ไม่มีความเห็นอย่างแจ้มแจ้งในสิ่งนั้นๆ

          3. อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน มีความหมายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน
ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือได้ว่ามันเป็นตัวเราของเรา ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนถูกต้องแล้วความรู้สึกที่ว่า ไม่มีตน จะเกิดขึ้นมาเองในสิ่งทั้งปวง แต่ที่เราไปหลงเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น
 ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง




ฆราวาสธรรม


                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูน หลัก ธรรม ทาง พระพุทธ ศาสนา

               ธรรมของฆราวาสหรือผู้ครองเรือน บางที่เรียกว่า คฤหัสถ์หรือ ชาวบ้านธรรมดา คือ
 
            1. สัจจะ    คือความซื่อสัตย์ต่อกัน ซื่อตรงต่อกัน จะทำจะพูดอะไรก็ทำหรือพูดด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่หลอกลวงคดโกง
            2. ทมะ   คือการรู้จักข่มจิตของตน รู้จักข่มความไม่พอใจเมื่อเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คนอยู่ร่วมกันนานๆ ย่อมต้องมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง ต้องรู้จักข่มไม่แสดงอาการพลุกพล่านหรือเกรี้ยวกราด
            3. ขันติ  คือความอดทน อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ในการศึกษาเล่าเรียน ในการงานอาชีพ
            4. จาคะ   คือความเสียสละ สละวัตถุสิ่งของสงเคราะห์เอื้อเฟื้อกัน ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากขาดแคลน  สละกำลังกาย กำลังสติปัญญาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน