ค่าของคนอยู่ที่ผลงาน คุณของคนอยู่ที่การฝึกฝนนำตนให้พ้นจากทุกข์ เศษแก้วในทะเล
ขัดเกลานานเข้า ยังกลายเป็นแก้วทะเลมีค่าน่าสะสม เศษคนในทะเลชีวิต ขัดเกลามากเข้า
ย่อมกลายเป็นแก้วทรงคุณค่า ในมหาสมุทรแห่งพุทธธรรม

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทศพิธราชธรรม


          
      ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้
  • ทาน (ทานํ) คือ การให้
  • ศีล (สีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ
  • บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขสวนตนเพื่อความสุขส่วนรวม
  • ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน
  • ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน
  • ความเพียร (ตปํ) คือ ความเพียร
  • ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) คือ การไม่แสดงอาการโกรธ
  • ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง การผลิต การบริโภคที่สมดุลไม่เน้นประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันแย่งชิงจนเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นและทำลายสิ่งแวดล้อม
  • ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว
  • ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก



1 ความคิดเห็น: