๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ
ทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)
๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่
ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ) ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่
ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา) ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย) ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย) ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)
๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่
การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต) การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน) การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)
๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ
เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์ เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร เว้นจากการค้าขายน้ำเมา เว้นจากการค้าขายยาพิษ
๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่
เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่
๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ
พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่ พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ
๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ
ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑
| |
ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒
| |
ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓
| |
จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น