ค่าของคนอยู่ที่ผลงาน คุณของคนอยู่ที่การฝึกฝนนำตนให้พ้นจากทุกข์ เศษแก้วในทะเล
ขัดเกลานานเข้า ยังกลายเป็นแก้วทะเลมีค่าน่าสะสม เศษคนในทะเลชีวิต ขัดเกลามากเข้า
ย่อมกลายเป็นแก้วทรงคุณค่า ในมหาสมุทรแห่งพุทธธรรม

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทศพิธราชธรรม


          
      ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้
  • ทาน (ทานํ) คือ การให้
  • ศีล (สีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ
  • บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขสวนตนเพื่อความสุขส่วนรวม
  • ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน
  • ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน
  • ความเพียร (ตปํ) คือ ความเพียร
  • ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) คือ การไม่แสดงอาการโกรธ
  • ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง การผลิต การบริโภคที่สมดุลไม่เน้นประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันแย่งชิงจนเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นและทำลายสิ่งแวดล้อม
  • ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว
  • ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก



มรรคมีองค์ ๘


                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระการตูน     

๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ

ทุกข์

เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)

ความดับทุกข์ (นิโรธ)

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)
๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่

ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ)

ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น

ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่

 ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา)

 ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย)

 ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย)

 ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)
๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่

การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต)

การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน)

การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)
๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ

เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์

เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส

เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร

เว้นจากการค้าขายน้ำเมา

เว้นจากการค้าขายยาพิษ
๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่

เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น

เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว

เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น

เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่
๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ

พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก

พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่

พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด

พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ
๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ



         ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑

         ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒

         ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓

         จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔



หลักแห่งการปฏิบัติธรรม ๕ ประการ

         


                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธรรมะ


          ๑. ศีล  ด้วยการทำตนให้สงบ  ระวังความชั่วทางกาย - ใจ
          ๒.  สมาธิ  ต้องฝึกจิต  อบรมจิตให้ระงับความวิตกฟุ้งซ่าน
          ๓. ปัญญา  ต้องศึกษาลักษณะจิตด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง  ในหลักแห่งความจริง
          ๔. วิมุตติ  ต้องเข้าใจลักษณะแห่งจิต  ที่พ้นจากเพลิงทุกข์  ว่าเป็นอย่างไร
          ๕. วิมุตติญาณทัสสนะ ต้องศึกษาถึงความรู้จักตน  ว่าอย่างไรจึงรู้แน่
กายสุจริต  วจีสุจริตต  มโนสุจริต

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สาราณียธรรม 6



      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สามัคคี คือ พลัง การ์ตูน  
  ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน 6 ประการ เป็นคุณธรรมที่ทำให้คนเราไม่เห็นแก่ตัว แต่จะคิดถึงคนอื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ระลึกถึงกัน ผูกพันเชื่อมโยงบุคคลไว้ด้วยน้ำใจ
สาราณียธรรม 6 สำหรับฆราวาส
          1. เมตตากายกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง ทำสิ่งใดก็ทำด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่นเช่น แสดงไมตรีจิต และหวังดีต่อมิตรสหาย เพื่อนร่วมงาน บุคคลรอบข้าง โดยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ด้วยความเต็มอกเต็มใจ พร้อมกับประพฤติตนอย่างสุภาพ สม่ำเสมอ ให้ความเคารพ และจริงใจต่อผู้อื่นแม้ในยามหน้า และลับหลัง
          2. เมตตาวจีกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ พูดกันด้วยเมตตา หมายถึง จะพูดอะไรก็พูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน เช่น การให้ความรู้ หรือคำแนะนำที่ดีต่อผู้อื่น กล่าววาจาสุภาพ พูดจริง ไม่พูดเพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองฝ่ายเดียว
         3. เมตตามโนกรรม แห่งสาราณียธรรม 6 คือ คิดต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง จะคิดสิ่งใดก็ให้คิดในสิ่งที่ดี และคิดด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เช่น ตั้งจิตปรารถนาที่จะทำคุณงามความดี คิดมั่นในการสร้างบุญกุศล และมีจิตเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความหวังดี
          4. สาธารณโภคี แห่งสาราณียธรรม 6 คือ แบ่งปันสิ่งที่ได้มาโดยชอบธรรม หมายถึง แบ่งปันลาภผลที่ร่วมกัน หาร่วมกันทำโดยยุติธรรมแม้สิ่งของที่ได้มาจะน้อย แต่ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วถึงกันนั้น คือ การร่วมสุข ร่วมทุกข์กัน
          5. สีลสามัญญตา แห่งสาราณียธรรม 6 คือ มีความประพฤติเสมอภาคกัน หมายถึง ประพฤติสุจริตในสิ่งที่ดีงามอย่างสม่ำเสมอ ประพฤติตนอย่างมีระเบียบวินัยเหมือนผู้อื่น ไม่ประพฤติตนในทางแตกแยกจนเป็นที่ขัดข้องหมองใจต่อผู้อื่นหรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ
         6. ทิฏฐิสามัญญตา แห่งสาราณียธรรม 6 คือ มีความเสมอภาคกันทางความคิด และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น หมายถึง ปรับความคิดความเห็นให้มีเหตุมีผลถูกต้องเหมือนกับผู้อื่น และหมู่คณะภายใต้เหต และผลในทางที่ดีงาม พร้อมกับเคารพเหตุผล ยึดหลักความดีงามเป็นอุดมคติอย่างสม่ำเสมอ
สาราณียธรรม 6 สำหรับภิกษุ สามเณร
          1. เมตตากายกรรม คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลาย พึงกระทำสิ่งใดก็ต้องให้ยึดมั่นด้วยความเมตตา ได้แก่ การแสดงความมีน้ำใจช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ ที่ควรของเพื่อนภิกษุสามเณร ของเพื่อนอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นต่อหน้าหรือลับหลังก็ตาม
          2. เมตตาวจีกรรม คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลายพึงกล่าววาจาที่ประกอบขึ้นด้วยเมตตา ได้แก่ การพูดวาจาที่เป็นคำสัตย์ คำจริง คำสมานสามัคคีด้วยคำไพเราะ น่าฟัง และคำที่มีประโยชน์ภายใต้พื้นฐานที่มาจากความเมตตา และจิตอันบริสุทธิ์ต่อคนที่ตนพูดด้วย และคนที่พูดถึง พูดต่อหน้าอย่างไร ลับหลังก็ต้องพูดอย่างนั้น ลับหลังพูดอย่างไร ต่อหน้าก็ควรพูดอย่างนั้น
          3. เมตตามโนกรรม คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลายพึงระลึกในจิตที่มีเมตตา ได้แก่ การตั้งความรู้สึกในคนและสัตว์ทั้งหลายว่า ชีวิตแต่ละชีวิตไม่ต้องการความทุกข์ แต่ต้องการความสุขฉันใด เพราะฉะนั้นขอให้บุคคลนั้นๆ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ประทุษร้ายกัน ให้แต่ละคนอยู่ดีมีสุขตามสมควรแก่ฐานะของตน เมื่อจะคิดถึงใครก็ตามไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่า เป็นภิกษุสามเณรเท่านั้น ให้คิดถึงกันด้วยเมตตา และพร้อมที่จะแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทั้งต่อหน้า และลับหลังบุคคลเหล่านั้น
          4. สาธารณโภคี คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลาย พึงแบ่งปันภัตตาหารหรือสิ่งของของตนให้แก่เพื่อนภิษุสามเณรด้วยกัน พึงละเว้นจากความเห็นแก่ตัวไม่แบ่งปันผู้อื่น คือ หลักการอยู่ร่วมกันของพระภิกษุสามเณรนั้น ต้องรู้จักเที่ยวบิณฑบาตอาหารจากชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธา เป็นการได้อาหารมาในทางที่ชอบธรรม แต่ว่าการได้ปัจจัย 4 นั้น คนเรามีวาสนาบารมีไม่เหมือนกัน บางคนได้มากจนเหลือกินเหลือใช้ บางคนได้น้อยจนไม่ค่อยพอกินพอใช้ เพราะฉะนั้นคนที่ได้ลาภผลมาในทางที่ชอบมาก จึงต้องแสดงออกซึ่งทางกายกรรมทางวจีกรรม ที่สะท้อนมาจากใจ ด้วยการเอื้อเฟื้อแบ่งปันเป็นการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ เฉลี่ยความสุขให้แก่กัน และกัน
          5. สีลสามัญญตา คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลาย พึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์เสมอกัน เนื่องด้วยการอยู่ร่วมกันของพระภิกษุ สามเณรนั้น ก็เป็นสังคมหนึ่งที่คล้ายกับฆราวาส มีผู้มากบ้าง และมีผู้รู้น้อยบ้าง แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการประพฤติปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้ที่เกี่ยวข้องกันแม้จะเป็นเพื่อนรักร่วมใจกัน ถ้าคนหนึ่งละเมิดศีลที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้จะกลายเป็นที่รังเกียจ ดูหมิ่นของเพื่อนภิกษุสามเณรด้วยกัน การอยู่ร่วมกันโดยปกติสุขที่ประสงค์จะเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องพยายามปฏิบัติตนให้ถูกต้องตรงตามหลักของศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้โดยให้มองว่า ข้อนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้อย่างไร ใครปฏิบัติถูกต้องตรงหลักที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ก็ปฏิบัติไปตามเขา ทำให้เกิดเป็นความเรียบร้อยสวยงามขึ้นที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า สังฆโสภโณ คือ หมู่คณะที่งดงาม
          6. ทิฏฐิสามัญญตา คือ ภิกษุ และสามเณรทั้งหลาย พึงมีความเห็นร่วมกัน และเคารพความเห็นของผู้อื่นเสมอ ไม่พึงวิวาทกันเอง เพราะเพียงความเห็นที่ไม่ตรงกัน โดยในฐานะของภิกษุในพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นความเห็นเกี่ยวกับวินัย ก็ต้องเอาวินัยเป็นมาตรการกำหนดตัดสินว่า ความเห็นของใครถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมะก็ตรวจสอบเทียบเคียง สอบทานหลักธรรมะว่า ข้อนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างไร แล้วก็หาจุดกลางทางความคิดมาพบกัน แต่บางอย่างเป็นเรื่องของกิจการงาน หรือแม้แต่เรื่องความเห็นทั่วไป อาจจะมีความขัดแย้งในหลักการ และวิธีการบางอย่าง แต่ว่าสามารถประสบผลเช่นเดียวกันได้ ก็ต้องรู้จักผ่อนปรนไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท เพราะเหตุว่าความเห็นขัดแย้งกัน เว้นไว้แต่บุคคลนั้นมีความเห็นขัดแย้งกับธรรมวินัย ซึ่งภิกษุสามเณรรู้ห่วงใยในพระพุทธศาสนา จะต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะขจัดปรับการวิวาทเหล่านั้นให้ยุติลงด้วยความเรียบร้อย


สมาธิ3

                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นั่งสมาธิ

สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1.ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วครู่ ชั่วขณะหนึ่ง เป็นสมาธิขั้นต้นที่บุคคลทั่วไปใช้ในการปฎิบัติหน้าที่ในการงานประจำวัน
2.อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่ตั้งได้นานหน่อย ใกล้ที่จะได้ฌาน เกิดนิมิตต่างๆ เช่นเห็นแสงสว่างอยู่ระยะหนึ่ง
3.อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่ถึงฌาน เป็นการทำสมาธิขั้นสูงสุด

ไตรลักษณ์


สิ่งทั้งหลายทั้งปวงประกอบอยู่ด้วยลักษณะอันเรียกว่า ไตรลักษณ์ หรือลักษณะ 3 ประการคือ

          1. อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง มีหมายความว่า สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไป
ไม่มีความคงที่ตายตัว

          2. ทุกขัง แปลว่า เป็นทุกข์ มีหมายความว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทุกข์มองดูแล้วน่าสังเวชใจ
ทำให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้ที่ไม่มีความเห็นอย่างแจ้มแจ้งในสิ่งนั้นๆ

          3. อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน มีความหมายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน
ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือได้ว่ามันเป็นตัวเราของเรา ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนถูกต้องแล้วความรู้สึกที่ว่า ไม่มีตน จะเกิดขึ้นมาเองในสิ่งทั้งปวง แต่ที่เราไปหลงเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น
 ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง




ฆราวาสธรรม


                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูน หลัก ธรรม ทาง พระพุทธ ศาสนา

               ธรรมของฆราวาสหรือผู้ครองเรือน บางที่เรียกว่า คฤหัสถ์หรือ ชาวบ้านธรรมดา คือ
 
            1. สัจจะ    คือความซื่อสัตย์ต่อกัน ซื่อตรงต่อกัน จะทำจะพูดอะไรก็ทำหรือพูดด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่หลอกลวงคดโกง
            2. ทมะ   คือการรู้จักข่มจิตของตน รู้จักข่มความไม่พอใจเมื่อเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คนอยู่ร่วมกันนานๆ ย่อมต้องมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง ต้องรู้จักข่มไม่แสดงอาการพลุกพล่านหรือเกรี้ยวกราด
            3. ขันติ  คือความอดทน อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ในการศึกษาเล่าเรียน ในการงานอาชีพ
            4. จาคะ   คือความเสียสละ สละวัตถุสิ่งของสงเคราะห์เอื้อเฟื้อกัน ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากขาดแคลน  สละกำลังกาย กำลังสติปัญญาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน



โลกธรรม 8

 ธรรมดาของโลก เรื่องของโลก ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลกและสัตว์โลกต้องเป็นไปตามธรรมดานี้ 8 ประการอันประกอบด้วย
โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา
  1. ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์
  2. ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
  3. สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ เป็นที่น่าพอใจ
  4. สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา
  1. เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้
  2. เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่
  3. นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย
  4. ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ


อิทธิบาท 4



             คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
          ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
          ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
          ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
          ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน





  • ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
  • วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
  • จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
  • วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

สังคหวัตถุ 4

           สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่


          1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

           2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
  • เว้นจากการพูดเท็จ
  • เว้นจากการพูดส่อเสียด
  • เว้นจากการพูดคำหยาบ
  • เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

           3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
           4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย




วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

          คำว่า เมโสโปเตเมีย เป็นภาษากรีกมาจากคำว่า Mesos เท่ากับภาษาอังกฤษว่า Middle และคำว่า Potamos เท่ากับภาษาอังกฤษว่า River รวมความแล้วหมายถึง “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” (land between the rivers) ได้แก่ที่ราบระหว่างแม่น้ำไทกริส (Tigris) ทางตะวันออก และแม่น้ำยูเฟรติส (Euphrates) ทางตะวันตก พื้นที่นี้ตั้งอยู่ทางทิสตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียในบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชีย ยุโรป และแอปริกา โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งหันออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นจุดเชื่อมโยงติดต่อกับอารยธรรมอียิปต์โบราณ พื้นที่ของแหล่งอารยธรรมทั้งหมดจะกินอาณาบริเวณจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปสู่อ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยวจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ครอบคลุมดินแดนบางส่วนในประเทศอิรักและซีเรียในปัจจุบัน ถือเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเก่าแก่แห่งแรก เมื่อราว 3,500 ปี ก่อนคริสตกาล

                           

          จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีการทับถมของดินตะกอนตามชายฝั่งแม่น้ำทั้งสอง ทำให้บริเวณแถบนี้อุดมสมบูรณ์และมีสภาพเหมาะสมแก่การเพาะปลูก แม้ว่าสภาพอากาศในดินแดนแถบนี้จะแปรปรวนไม่จนสามารถคาดเดาได้ก็ตาม เกิดความแห้งแล้งลำน้ำท่วมเป็นประจำ อันเป็นเหตุให้การควบคุมน้ำหรือการชลประทานสำคัญจำเป็นต่อการทำกสิกรรมของผู้คนแถบนี้ นอกจากนั้นแล้ว ทางบกยังติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เชื่อมต่ออียิปต์และอารยธรรมที่กำลังก่อตัวในยุโรปได้ทางตอนใต้ก็ยังเปิดสู่อ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเออำนวยต่อการขนส่งค้าขายทางทะเลกับอารยธรรมที่ห่างไกล เช่น สินธุ ลักษณะเช่นนี้เอง ทำให้ดินแดนเมโสโปเตเมียแห่งนี้ เป็นที่หมายปองของชนกลุ่มต่างๆ

            ช่วงประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาลลงมาพบว่า มนุษย์ที่เมโสโปเตเมียเริ่มเรียนรู้การใช้โลหะทองแดง และพบหลักฐานความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น ถัดมาประมาณ 3600-2800 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ในยุคอูรุก (Uruk) ถือเป็นการเริ่มต้นอารยธรรมเมืองในลักษณะนคร-รัฐ (city-state) และที่นี้มีวิหารสองแห่ง คือ วิหารสำหรับบูชาเทพอาทิตย์และวิหารสำหรับบูชาเทพอินันนา (Inanna) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์

             เทพในช่วงนี้ของเมโสโปเตเมียมีหลายองค์ เช่น วัวกระทิง ซึ่งมีความหมายถึงสวรรค์ Enlil เป็นเทพของสายฟ้าหรือดินฟ้าอากาศ Ea เป็นเทพแห่งน้ำและมีการสร้างวิหารที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurat) หมายถึง ห้องรอคอยเพื่อบูชาหรือพบพระเจ้า สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสถานที่ติดต่อหรือเชื่อมระหว่างโลกและสวรรค์

            ช่วงประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

             ลักษณะสังคมของชาวสุเมเรียนเป็นอารยธรรมแบบเมือง ประกอบด้วยผู้คนหลากหลายอาชีพ เช่น ชาวนา ช่างโลหะ ช่างทอง พระ ขุนนางและผู้ปกครองหรือกษัตริย์ ชาวสุเมเรียนมีการปกครองแบบรัฐศาสนา คือมีนักบวช ซึ่งนอกจากทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อแล้ว ยังเป็นผู้บริหารจัดการเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรอีก เช่น การจักสรรน้ำและที่ดินเพื่อการเกษตร การแลกเปลี่ยนค้าขาย ธนาคาร เป็นต้น นักบวชและวัดในสมัยนี้จึงมีบทบาทสำคัญมาก

            มรดกชิ้นสำคัญซึ่งชาวสุเมเรียนได้สร้างไว้ คือ การประดิษฐ์อักษรใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยใช้ไม้หรือโลหะแหลมจารลงบนแผ่นดินเหนียวโดยพัฒนาจากตราประทับทรงกระบอกที่เป็นอักษรภาพง่ายๆ เวลาใช้ต้องนำกระบอกกลิ้งหมุนบนแผ่นดินเหนียว เป็นจุดกำเนิดของตัวอักษรครั้งแรกจนกลายเป็นอักษรรูปลิ่ม และผ่านการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นต้นตอของตัวอักษรกรีก และละติน

             จากความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรืองของชาวเมโสโปเตเมียได้ดึงดูดกลุ่มชนอัคคาเดียน ซึ่งเป็นกลุ่มของพวก Semite และบรรพบุรุษของชาวยิว Hebrew ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรอารเบีย (Arabia) ได้แทรกซึมเข้ามาในดินแดนของชาวสุเมเรียนและได้ยึดครองเมโสโปเตเมีย ประมาณปี 2,360 ก่อนคริสตกาล ชาวอัคคาเดียนได้ปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียอยู่ประมาณ 200 ปี กษัตริย์ที่สำคัญของอัคคาเดียนคือ พระเจ้าซาร์กอน (Sargon) ได้รวบรวมนครรัฐของสุเมเรียนทั้งหมด การรวมครั้งนี้มีผลให้อารยธรรมของพวกสุเมเรียนจากตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ได้ขยายขึ้นเหนืออย่างกว้างขวาง ผลจากการครอบครองสุเมเรียนของชาวอัคคาเดียนทำให้เทพเจ้าของพวกเขาที่ชื่อว่า “มาร์ดุก” (Marduk) เข้ามาเป็นเทพเจ้าสูงสุดแทนที่เทพ Enlil เดิม

            ชนชาติถัดมาที่เข้ายึดครองดินแดนเมโสโปเตเมียคือ ชาวบาบิโลน ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองยูรุก (Uruk) ใกล้แม่น้ำยูเฟรตีส ในสมัยนี้มีกษัตริย์ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “ฮัมมูราบี” เป็นผู้สร้างความยิ่งใหญ่และความเจริญแก่ดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบัญญัตกฎหมายบังคับใช้ในดินแดนของพระองค์ เรียกว่า “ประมวลกฎหมายแห่งฮัมมูราบี” (Code of Hammurabi) กฎหมายนี้มีลักษณะการลงโทษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน กฎหมายนี้มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการควบคุมคน แทนการใช้จารีตประเพณีและความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ และเทพเจ้า

             หลังจากกษัตริย์ฮัมมูราบีสิ้นอำนาจลง ก็มีชนเผ่าหลายชนเผ่า ได้แก่ ชาวฮิตไตท์ (Hitties) ชาวแคสไซส์ (Kassites) ชาวอีลาไมล์ (Elamites) และชาวอัสซีเรียน (Assyrians) แต่ชาวอัสซีเรียนถือว่าเป็นชนเผ่าที่มีบทบาทในการสร้างอารยธรรมอย่างโดดเด่น โดยในช่วงแรกได้ย้ายเมืองจากหลวงจากกรุบาบิโลนมาตั้งที่เมืองอัสซูร์ (Assur) ซึ้งตั้งอยู่บนริมฝั่งตอนกลางของแม่น้ำไทกริส และได้ครองอำนาจถึงขีดสุดระหว่าง 712-612 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอัสซีเรียนได้ขยายอำนาจการปกครองครอบคลุมไปถึงซีเรียน ปาเลสไตน์ และบางส่วนของอียิปต์

            จากอำนาจและบทบาททางอารยธรรมของชาวอัสซีเรียนทำให้เทพอสูร (Assur) ซึ่งเป็นเทพประจำเมืองอัสซูร์ ได้รับการยอมรับนับถืออย่ากว้างขวางและมีความสำคัญเท่ากับเทพมาร์ดุก (Marduk) ซึ่งเป็นเทพเจ้าของชาวอัคคาเดียนเดิม และได้ขยายอิทธิพลความเชื่อต่ออารยธรรมอื่นๆ เช่น เปอร์เซีย และอินเดีย แต่ด้วยความโหดร้ายของชาวอัสซูร์ทำให้ประชาชนต่อต้านและเสื่อมอำนาจลงในที่สุด ทำให้บทบาทของอสูรเทพของชาวอัสซีเรียนลดบทบาทลงและเสื่อมคลายไปจนกลายเป็นตัวร้ายในนิทาน แนวความคิดเรื่องอสูรเทพนี้มีอิทธิพลต่อวรรณคดีไทย เพราะวรรณคดีไทยหลายเรื่องได้รับแนวคิดมาจากอารยธรรมอินเดียอีกทอดหนึ่ง

             ต่อมาเมื่อชาวอัสซีเรียนพ่ายแพ้สงครามต่อชาวเมเดสและชาวเมืองบาบิโลน อำนาจการปกครองจึงเปลี่ยนไปและเริ่มต้นยุคใหม่ เรียกยุคนี้ว่า “ยุคบาบิโลนใหม่” หรือ “นีโอบาบิโลน” (Neo Babylon) ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเนบุชัดเนซซาร์ที่สอง (Nebuchadnessar II) กษัตริย์พระองค์นี้ถือว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจ พระองค์ได้ยกทัพไปรบชนะชาวยิวยึดครองนครเยรูซาเล็ม ได้เชลยชาวยิวมาเป็นแรงงาน ในยุคของพระองค์ได้มีการก่อสร้างวิหารและพระราชวังหลายแห่ง และผลงานทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญและถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดแห่งของโลกสมัยโบราณคือ “สวนลอยแห่งเมืองบาบิโลน” (The hanging gardens of Babylon) ซึ่งเป็นสวนที่มีถนนกว้างปูลาดด้วยแผ่นหินและลาดด้วยยางมะตอย เพื่อให้เป็นเส้นทางของขบวนแห่เฉลิมฉลองเทพมาร์ดุก (Marduk) ซึ่งกลับมามีบทบาทสำคัญต่อชาวเมืองบาบิโลนอีกครั้ง

             จักรวรรดิบาบิโลนใหม่ รุ่งเรืองจนถึงประมาณ 539 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรบาบิโลนก้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของพระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus, the Great) ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ดินแดนเมโสโปเตเมียซึ่งรุ่งเรืองผ่านการปกครองและอารยธรรมชนเผ่าต่างๆ มายาวนาน ก็สิ้นสุดลงในที่สุด
อารยธรรมเมโสโปเตเมียได้พัฒนาขึ้นถึงขีดสุดผ่านกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ที่เข้ามาครอบครองและผสมผสานความคิดความเชื่อของตนเองกับชนเผ่าต่างๆ ชีวิตของชาวเมโสโปเตเมียผูกพันกับพระและวัดอย่างมาก ชาวสุเมเรียนซึ่งเป็นชนกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมีย มีลักษณะความเชื่อในเทพเจ้าและโลกหลังความตายเป็นหลัก และมีการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ซึ่งเทพเจ้าแต่ละองค์ก็มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตให้คุณและโทษแก่ตนเอง เช่น อูโต เทพแห่งดวงอาทิตย์ อินันนา เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และความรัก อินลิล เทพแห่งสายฟ้า หรือดิน ฟ้า อากาศ เป็นต้น นอกจากการนับถือเทพเจ้าแล้วแล้ว ชาวสุเมเรียนยังเชื่อในไสยศาสตร์ นับถือโชคลางและปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกด้วย ผู้มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารระหว่างชุมชนกับเทพเจ้าคือ พระ โดยผ่านการทำพิธีกรรม เช่นการจัดหารอาหาร และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างที่พำนักให้แก่เทพเจ้า และมีเทพเจ้าหลายองค์ที่กลายเป็นเทพเจ้าประจำรัฐ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับนับถือเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย

            พัฒนาการทางความคิดที่สำคัญของชาวสุเมเรียนอีกประการหนึ่ง คือ การรู้จักการคูณ การหาร ระบบหน่วยหกสิบ ได้แก่ 6, 60, 600, 3,600 ซึ่งปัจจุบันใช้กับการนับเวลาและการคำนวณวงกลม นอกจากนี้ยังได้คิดระบบชั่ง ตวง วัด ซึ่งเป็นรากฐานที่มาของการชั่งที่คิดน้ำหนักเป็นปอนด์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนชาวคาลเดียนสามารถคำนวณวันเกิดสุริยปราคาและจันทรุปราคา รวมทั้งสามารถจัด แบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน

อารยธรรมกรีก


          กรีกเป็นคำที่ชาวโรมันเรียกชาวกรีก หรือกรีซในปัจจุบัน แต่ชาวกรีกเองเรียกตนเองว่า “เฮลลีนส์” และเรียกความเจริญอารยธรรมที่ตนสร้างสรรค์ว่า “เฮเลนนิค” (Hellenic) ประเทศต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันออกคือ อินเดียและจีนส่วนต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกก็คือกรีกชาวตะวันตกทุกชาติไม่ว่าสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ออสเตรีย อังกฤษ อิตาลี เยอรมนี ฯลฯ ใช้อารยธรรมที่ล้วนแล้วแต่มีรากดั้งเดิมมาจากกรีกทั้งนั้น

          กรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาบริเวณรอบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอยู่ติดต่อกับอารยธรรมยุคเก่าซึ่งมีอำนาจในการปกครองดินแดนแถบนี้ 2 แห่งของโลก คือ อียิปต์และตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย และที่สำคัญอีกอย่างคือ ดินแดนรอบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นแหล่งเชื่อม 3 ทวีป คือ อาฟริกา เอเซียและยุโรป และเป็นชุมทางการเคลื่อนตัวของมนุษย์สมัยโบราณในยุคหินเก่าและหินใหม่ เนื่องจากกรีกเป็นเมืองค้าขายจึงมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความคิดอันหลากหลายจากพ่อค้าจากต่างถิ่นที่แวะเข้ามาทำการค้าขาย

          เมืองส่วนใหญ่ของกรีกเป็นเมืองค้าขายมีที่ราบเล็กๆ ในหุบเขาที่จะผลิตอาหารได้จำนวนจำกัด กรีกจึงมีแนวโน้มจัดตั้งองค์กรทางการเมืองที่ไม่รวมศูนย์ การเป็นเมืองค้าขายเปิดโอกาสให้ได้รับการถ่ายทอดความคิดจากพ่อค้าที่แวะเข้ามาจากการเดินทางออกไปยังอียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เป็นต้น ทำให้กรีกสามารถตั้งคำถาม วิเคราะห์ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้มาก จากการที่กรีกปกครองเป็นนครรัฐ (Polis) จึงทำให้กรีกต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ ก่อนหน้านั้นหรือในยุคเดียวกัน คือ ไม่มีระบบความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าที่มีอำนาจสูงสุดหรือสมบูรณ์ตายตัว จากจุดนี้จึงเป็นสาเหตุให้กรีกกลายเป็นนักวิเคราะห์ และนักเหตุผลนิยมได้ดีกว่าอารยธรรมอื่นที่ผ่านๆ มา และในที่สุดกรีกก็เป็นหนึ่งในอารยธรรมแรกๆ ที่สร้างระบบคิดแบบเปิด คือ ระบบปรัชญาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเน้นการถกเถียงระหว่างปัญญาชนที่หลายหลายขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ส่วนที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันในกรีก อินเดีย และจีน

          ชาวกรีกให้การเทพเจ้าหลายองค์ เทพส่วนมากมีความเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ เช่น Zeus ควบคุมท้องฟ้า พายุและฝน เทพ Poseidon ควบคุมทะเล เทพ Aphrodite เป็นเทพแห่งความรัก และเทพ เป็นต้น แต่การนับถือเทพของชาวกรีกมีความแตกต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ คือ แต่ละบุคคลสามารถบนบานต่อเทพได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพระนักบวช และเทพในอารยธรรมกรีกนั้นมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตลอดเวลา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทพ Zeus
เทพ Zeus

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทพ Poseidon ควบคุมทะเล
เทพ Poseidon 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทพ Aphrodite
 เทพ Aphrodite


          ส่วนในกรีกโบราณ ความคิดทางศาสนามีส่วนช่วยจรรโลงอารยธรรมกรีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ซึ่งปรากฏออกมาในรูปของการสร้างโบสถ์วิหารและปติมากรรมเพื่อถวายความเคารพและบูชา สรรเสริญเทพเจ้า วิหารของเทพเจ้ากรีกล้วนก่อสร้างด้วยหินอ่อน และมีแบบของหัวเสา วิหารที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารพาเธนอน (Pathenon) ในนครเอเธนส์ ซึ่งเป็นวิหารของเทพเจ้าอธีนาผู้คุ้มครองนครเอเธนส์ วิหารเทพเจ้าเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างแสดงแสดงฝีมือและความเป็นอัจฉริยะของกรีกโบราณด้านสถาปัตยกรรม


          ความคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าของกรีกโบราณสื่อออกมาในรูปลักษณะแบบมนุษย์และคุณลักษณะบางประการของมนุษย์ เช่น ยังมีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง มีการทะเลาะวิวาท อิจริษยา กันและกัน แต่มีความแตกต่างจากมนุษย์ตรงที่มีอาหารทิพย์ และมีความเป็นอมตะ แต่ละองค์ล้วนมีอานุภาพ และได้รับการกำหนดให้คุ้มครองธรรมชาติที่มีความสำคัญ เช่น ท้องทะเล ได้แก่ เทพเจ้าโพไวดอน (Poseidon) พื้นแผ่นดินได้แก่ เทพเจ้าซีรีส (Ceres) ความงาม ความรัก ได้แก่ เทพเจ้าอโพรไดท์ (Aphrodite) หรือที่ชาวโรมัน เรียกว่า วีนัส (Venus) ความฉลาด ได้แก่ เทพเจ้าอธีนา (Athena) แสงสว่างและการทำนาย ได้แก่ เทพเจ้าอพอลโล (Apollo) เป็นต้น

          ส่วนเรื่องของความตายนั้น กรีกโบราณมีความคิดที่แตกต่างไปจากอียิปต์ คือ ชาวกรีกจะไม่สนใจความเป็นไปภายหลังความตาย ไม่สนใจต่อร่างกายที่ และเมื่อคนตายลงก็จะใช้วิธีเผาศพ และมีความคิดว่า เงาหรือผีจะอยู่ชั่วระยะหนึ่งหลังจากที่ตายไปทุกคนจะไปยังอาณาจักรแห่งความตาย ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมของเทพเจ้าใต้บาดาล คือ เฮเดส (Hades) แต่อาณาจักรแห่งความตายนี้มิใช่นรก หรือสวรรค์ ไม่มีการรับรางวัลแห่งความดี หรือการถูกลงโทษจากการกระทำผิด แต่จะอยู่ในลักษณะเดียวกันเหมือนกับการมีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์

          กิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวกรีกก็คือ การรื่นเริงถวายเทพเจ้าที่ถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับศาสนปฏิบัติ ซึ่งแสดงออกโดยที่นครรัฐทุกแห่งจะมีงานรื่นเริงประจำนครรัฐของตนและมีการแข่งกีฬา การแข่งขันกีฬาถวายเทพเจ้าที่สำคัญที่สุด คือ ที่โอลิมเบีย (Olympia) ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มในแคว้นเอลิส (Elis) ได้เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ 776 ปีก่อนคริสตกาล ณที่นี้มีวิหารของเทพเจ้าสูงสุด คือเทพเจ้าซีอุส (Zeus) และการแข่งขันกีฬาที่โอลิมเปียนี้เรียกว่า กีฬาโอลิมปิก (Olympic Game)

          กิจกรรมต่างๆ ของชาวกรีกโบราณที่กล่าวมาแล้วนี้ นับเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความสอดคล้องผสมผสานระหว่างความคิดทางศาสนากับอารยธรรมของมนุษย์ได้อย่างชัดเจนและมีความหมายที่ซ้อนเร้นอยู่ตามสถาปัตยกรรมต่างๆ

          ส่วนในสมัยโรมัน ปรากกว่าระยะแรกๆ ชาวโรมันมีชีวิตความเป็นอยู่แบบง่ายๆ มีการเลี้ยงสัตว์และทำการเพาะปลูก พวกเขานับถือผีวิญญาณ เชื่อว่ามีวิญญาณในทุกสิ่ง ไม่ว่าต้นไม้ ก้อนหิน สัตว์ในทุงหญ้า ท้องนา วิญญาณเหล่านี้อาจช่วยเหลือ หรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่อวิญญาณเหล่านี้ จึงเป็นหน้าที่ของทางศาสนาที่จะหาวิธีปฏิบัติให้วิญญาณทั้งหลายนั้นมาเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์

          ความคิดเรื่องวิญญาณที่สำคัญของชาวโรมันในระยะแรกได้แก่ เวสตา (Vesta) ซึ่งดูแลเตาไฟ แลรีส (Lares) ดูแลบ้านและขอบเขตที่นาของครอบครัว พิเนตีส (Penates) ดูแลที่เก็บเสบียงอาหาร และยังมีวิญญาณประจำตัวมนุษย์ได้แก่ จีเนียส (Genius) ซึ่งบำบัดรักษาครอบครัวโดยผ่านหัวหน้าครอบครัว จึงถือว่า จีเนียสเป็นวิญญาณประจำตัวผู้ชาย วิญญาณเหล่านี้จะต้องได้รับการกราบไหว้อย่างเหมาะสม
ในยุคโบราณ ตะวันตกถือว่ากรีกเป็นบ่อเกิดของความคิดแบบต่างๆ และถือว่าเป็นอาณาจักรที่มีอารยธรรมทั้งทางด้านความคิด การเมือง สถาปัตยกรรม เป็นต้นมีความก้าวหน้าแห่งหนึ่งในยุคโบราณ แต่ในยุคนี้ความคิดที่เด็นชัดและมีอิทธิพลต่อวิธีการคิดและการดำเนินชีวิตของคนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในตะวันตก ก็คือความคิดทางปรัชญา ซึ่งมีนักคิดที่โดดเด่นที่สุดในยุคนั้น 3 ท่าน ก็คือ อริสโตเติล พลาโต้ และโสเครตีส แต่ตามประวัติศาสตร์แล้วนักคิดที่ถือว่ามีแนวคิดทางปรัชญาท่านแรกของกรีกโบราณก็คือ ธาเลส ซึ่งเป็นผู้ให้มุมมองเกี่ยวกับโลก จักรวาล และมนุษย์ที่แตกต่างออกไปจากมุมมองแบบยุคก่อนประวัติศาสตร์ และถือว่าเป็นผู้จุดประกายให้มีนักคิดท่านอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย 
          กรีกเป็นคำที่ชาวโรมันเรียกชาวกรีก หรือกรีซในปัจจุบัน แต่ชาวกรีกเองเรียกตนเองว่า “เฮลลีนส์” และเรียกความเจริญอารยธรรมที่ตนสร้างสรรค์ว่า “เฮเลนนิค” (Hellenic) ประเทศต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันออกคือ อินเดียและจีนส่วนต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกก็คือกรีกชาวตะวันตกทุกชาติไม่ว่าสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ออสเตรีย อังกฤษ อิตาลี เยอรมนี ฯลฯ ใช้อารยธรรมที่ล้วนแล้วแต่มีรากดั้งเดิมมาจากกรีกทั้งนั้น

          กรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาบริเวณรอบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอยู่ติดต่อกับอารยธรรมยุคเก่าซึ่งมีอำนาจในการปกครองดินแดนแถบนี้ 2 แห่งของโลก คือ อียิปต์และตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย และที่สำคัญอีกอย่างคือ ดินแดนรอบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นแหล่งเชื่อม 3 ทวีป คือ อาฟริกา เอเซียและยุโรป และเป็นชุมทางการเคลื่อนตัวของมนุษย์สมัยโบราณในยุคหินเก่าและหินใหม่ เนื่องจากกรีกเป็นเมืองค้าขายจึงมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความคิดอันหลากหลายจากพ่อค้าจากต่างถิ่นที่แวะเข้ามาทำการค้าขาย

          เมืองส่วนใหญ่ของกรีกเป็นเมืองค้าขายมีที่ราบเล็กๆ ในหุบเขาที่จะผลิตอาหารได้จำนวนจำกัด กรีกจึงมีแนวโน้มจัดตั้งองค์กรทางการเมืองที่ไม่รวมศูนย์ การเป็นเมืองค้าขายเปิดโอกาสให้ได้รับการถ่ายทอดความคิดจากพ่อค้าที่แวะเข้ามาจากการเดินทางออกไปยังอียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เป็นต้น ทำให้กรีกสามารถตั้งคำถาม วิเคราะห์ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้มาก จากการที่กรีกปกครองเป็นนครรัฐ (Polis) จึงทำให้กรีกต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ ก่อนหน้านั้นหรือในยุคเดียวกัน คือ ไม่มีระบบความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าที่มีอำนาจสูงสุดหรือสมบูรณ์ตายตัว จากจุดนี้จึงเป็นสาเหตุให้กรีกกลายเป็นนักวิเคราะห์ และนักเหตุผลนิยมได้ดีกว่าอารยธรรมอื่นที่ผ่านๆ มา และในที่สุดกรีกก็เป็นหนึ่งในอารยธรรมแรกๆ ที่สร้างระบบคิดแบบเปิด คือ ระบบปรัชญาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเน้นการถกเถียงระหว่างปัญญาชนที่หลายหลายขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ส่วนที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันในกรีก อินเดีย และจีน

          ชาวกรีกให้การเทพเจ้าหลายองค์ เทพส่วนมากมีความเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ เช่น Zeus ควบคุมท้องฟ้า พายุและฝน เทพ Poseidon ควบคุมทะเล เทพ Aphrodite เป็นเทพแห่งความรัก และเทพ เป็นต้น แต่การนับถือเทพของชาวกรีกมีความแตกต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ คือ แต่ละบุคคลสามารถบนบานต่อเทพได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพระนักบวช และเทพในอารยธรรมกรีกนั้นมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตลอดเวลา

          ส่วนในกรีกโบราณ ความคิดทางศาสนามีส่วนช่วยจรรโลงอารยธรรมกรีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ซึ่งปรากฏออกมาในรูปของการสร้างโบสถ์วิหารและปติมากรรมเพื่อถวายความเคารพและบูชา สรรเสริญเทพเจ้า วิหารของเทพเจ้ากรีกล้วนก่อสร้างด้วยหินอ่อน และมีแบบของหัวเสา วิหารที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารพาเธนอน (Pathenon) ในนครเอเธนส์ ซึ่งเป็นวิหารของเทพเจ้าอธีนาผู้คุ้มครองนครเอเธนส์ วิหารเทพเจ้าเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างแสดงแสดงฝีมือและความเป็นอัจฉริยะของกรีกโบราณด้านสถาปัตยกรรม


          ความคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าของกรีกโบราณสื่อออกมาในรูปลักษณะแบบมนุษย์และคุณลักษณะบางประการของมนุษย์ เช่น ยังมีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง มีการทะเลาะวิวาท อิจริษยา กันและกัน แต่มีความแตกต่างจากมนุษย์ตรงที่มีอาหารทิพย์ และมีความเป็นอมตะ แต่ละองค์ล้วนมีอานุภาพ และได้รับการกำหนดให้คุ้มครองธรรมชาติที่มีความสำคัญ เช่น ท้องทะเล ได้แก่ เทพเจ้าโพไวดอน (Poseidon) พื้นแผ่นดินได้แก่ เทพเจ้าซีรีส (Ceres) ความงาม ความรัก ได้แก่ เทพเจ้าอโพรไดท์ (Aphrodite) หรือที่ชาวโรมัน เรียกว่า วีนัส (Venus) ความฉลาด ได้แก่ เทพเจ้าอธีนา (Athena) แสงสว่างและการทำนาย ได้แก่ เทพเจ้าอพอลโล (Apollo) เป็นต้น

          ส่วนเรื่องของความตายนั้น กรีกโบราณมีความคิดที่แตกต่างไปจากอียิปต์ คือ ชาวกรีกจะไม่สนใจความเป็นไปภายหลังความตาย ไม่สนใจต่อร่างกายที่ และเมื่อคนตายลงก็จะใช้วิธีเผาศพ และมีความคิดว่า เงาหรือผีจะอยู่ชั่วระยะหนึ่งหลังจากที่ตายไปทุกคนจะไปยังอาณาจักรแห่งความตาย ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมของเทพเจ้าใต้บาดาล คือ เฮเดส (Hades) แต่อาณาจักรแห่งความตายนี้มิใช่นรก หรือสวรรค์ ไม่มีการรับรางวัลแห่งความดี หรือการถูกลงโทษจากการกระทำผิด แต่จะอยู่ในลักษณะเดียวกันเหมือนกับการมีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์

          กิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวกรีกก็คือ การรื่นเริงถวายเทพเจ้าที่ถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับศาสนปฏิบัติ ซึ่งแสดงออกโดยที่นครรัฐทุกแห่งจะมีงานรื่นเริงประจำนครรัฐของตนและมีการแข่งกีฬา การแข่งขันกีฬาถวายเทพเจ้าที่สำคัญที่สุด คือ ที่โอลิมเบีย (Olympia) ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มในแคว้นเอลิส (Elis) ได้เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ 776 ปีก่อนคริสตกาล ณที่นี้มีวิหารของเทพเจ้าสูงสุด คือเทพเจ้าซีอุส (Zeus) และการแข่งขันกีฬาที่โอลิมเปียนี้เรียกว่า กีฬาโอลิมปิก (Olympic Game)

          กิจกรรมต่างๆ ของชาวกรีกโบราณที่กล่าวมาแล้วนี้ นับเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความสอดคล้องผสมผสานระหว่างความคิดทางศาสนากับอารยธรรมของมนุษย์ได้อย่างชัดเจนและมีความหมายที่ซ้อนเร้นอยู่ตามสถาปัตยกรรมต่างๆ

          ส่วนในสมัยโรมัน ปรากกว่าระยะแรกๆ ชาวโรมันมีชีวิตความเป็นอยู่แบบง่ายๆ มีการเลี้ยงสัตว์และทำการเพาะปลูก พวกเขานับถือผีวิญญาณ เชื่อว่ามีวิญญาณในทุกสิ่ง ไม่ว่าต้นไม้ ก้อนหิน สัตว์ในทุงหญ้า ท้องนา วิญญาณเหล่านี้อาจช่วยเหลือ หรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่อวิญญาณเหล่านี้ จึงเป็นหน้าที่ของทางศาสนาที่จะหาวิธีปฏิบัติให้วิญญาณทั้งหลายนั้นมาเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์

          ความคิดเรื่องวิญญาณที่สำคัญของชาวโรมันในระยะแรกได้แก่ เวสตา (Vesta) ซึ่งดูแลเตาไฟ แลรีส (Lares) ดูแลบ้านและขอบเขตที่นาของครอบครัว พิเนตีส (Penates) ดูแลที่เก็บเสบียงอาหาร และยังมีวิญญาณประจำตัวมนุษย์ได้แก่ จีเนียส (Genius) ซึ่งบำบัดรักษาครอบครัวโดยผ่านหัวหน้าครอบครัว จึงถือว่า จีเนียสเป็นวิญญาณประจำตัวผู้ชาย วิญญาณเหล่านี้จะต้องได้รับการกราบไหว้อย่างเหมาะสม

          ในยุคโบราณ ตะวันตกถือว่ากรีกเป็นบ่อเกิดของความคิดแบบต่างๆ และถือว่าเป็นอาณาจักรที่มีอารยธรรมทั้งทางด้านความคิด การเมือง สถาปัตยกรรม เป็นต้นมีความก้าวหน้าแห่งหนึ่งในยุคโบราณ แต่ในยุคนี้ความคิดที่เด็นชัดและมีอิทธิพลต่อวิธีการคิดและการดำเนินชีวิตของคนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในตะวันตก ก็คือความคิดทางปรัชญา ซึ่งมีนักคิดที่โดดเด่นที่สุดในยุคนั้น 3 ท่าน ก็คือ อริสโตเติล พลาโต้ และโสเครตีส แต่ตามประวัติศาสตร์แล้วนักคิดที่ถือว่ามีแนวคิดทางปรัชญาท่านแรกของกรีกโบราณก็คือ ธาเลส ซึ่งเป็นผู้ให้มุมมองเกี่ยวกับโลก จักรวาล และมนุษย์ที่แตกต่างออกไปจากมุมมองแบบยุคก่อนประวัติศาสตร์ และถือว่าเป็นผู้จุดประกายให้มีนักคิดท่านอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย