อินเดียเป็นอารยธรรมของคนในแถบเอเชียใต้และมีอิทธิพลต่ออารยธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก อารยธรรมอินเดียโบราณหรืออารยธรรมลุ่มแม้น้ำสินธุ จัดเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ดินแดนบริเวณนี้ประมาณ 3,000-2,500 ปีก่อนคริสตกาล จัดเป็นแหล่งอารยธรรมเมืองแห่งหนึ่งของโลกยุคโบราณ จากการขุดค้นพบ “เมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenjo-daro) และเมืองฮารัปปา (Harappa) ซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมแห่งนี้ พบว่ามีความเจริญอย่างยิ่งในด้านการวางผังเมือง เพราะมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบระเบียบ มีระบบท่อระบายน้ำ มีสระขนาดใหญ่ภายใต้ตึก 3 ชั้น ยุ้งฉางสำหรับเก็บผลผลิตทางการเกษตร และมีหลักฐานการติดต่อค้าขายกับดินแดนเมโสโปเตเมียอีกด้วย
เมืองโมเฮนโจดาโร
ผู้คนที่มีบทบาทในการพัฒนาและสร้างสรรค์อารยธรรมในแถบนี้มีด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุตั้งแต่ปลายยุคหินใหม่ เรียกว่า “ดราวิเดียน” มีรูปร่างเล็ก ผิวดำ จมูกแบน ส่วนอีกลุ่มหนึ่ง คือ “อินโด-อารยัน” มีรูปร่างสูงใหญ่ จมูกโด่ง ผิวขาว มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของทวีปเอเซียรอบๆ ทะเลสาบแคสเปียน ต่อมาได้อพยพจากถิ่นเดิมไปยังดินแดนอื่นๆ กลุ่มหนึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานบริเวณคาบสมุทรกรีซและในแหลมอิตาลี กลุ่มนี้เรียกว่า “อินโดยูโรเปียน” กลุ่มที่สองไปตั้งถิ่นฐานทางทิศตะวันออกเฉียงใต้บริเวณอัฟกานิสถานและขยายสู่ทิศตะวันตกเข้าไปยังเปอร์เซีย กลุ่มนี้เรียกว่า “เปอร์เซีย” และกลุ่มที่สามขยายมาทางตะวันออกเข้ามาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย กลุ่มนี้เรียกว่า “อินโดอารยัน” และได้พัฒนาอารยธรรม ต่อมาดินแดนแห่งนี้ได้กลายเป็นบ่อเกิดของลัทธิความเชื่อ ศาสนา และระบบปรัชญามากมาย
พัฒนาการทางความคิดที่สำคัญในอารยธรรมอินเดียเริ่มจากการนับถือเทพเจ้าหลายองค์โดยการสวดสรรเสริญและอ้อนวอนเทพเจ้า ในช่วงแรกเป็นการสืบต่อกับด้วยการท่องจำแบบปากเปล่าในกลุ่มของผู้ทำพิธีกรรมเท่านั้น ต่อมาได้พัฒนาเป็นคัมภีร์ประกอบด้วยสามส่วนคือ ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท รวมเรียกว่า “ไตรเวท” ภายหลังได้แต่งคัมภีร์ชื่ออถรรพเวทเพิ่มขึ้นรวมเป็นสี่ส่วน แต่ก็ยังเรียกว่าคัมภีร์พระเวทเหมือนเดิม เรียกยุคนี้ว่า “ยุคพระเวท” พัฒนาการความคิดของอินเดียในยุคถัดมามีความหลากหลายทางความคิด ในส่วนที่พัฒนาต่อจากพระเวท คือ มหากาพย์ที่สำคัญสอง เรื่อง คือ มหาภารตะและรามายณะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนากระแสความคิดอื่นที่แตกต่างไปจากความคิดแบบพระเวท นั่นคือ กระแสความคิดจากพุทธศาสนาและจากศาสนาเชน
พัฒนาการความคิดจากคัมภีร์พระเวทนั้นมีหลายระดับ คือ เริ่มแรกเป็นความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าแบบ “พหุเทวนิยม” (Polytheism) นั่นคือการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นการยกย่องและให้การนับถือเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว เรียกว่า “เอกเทวนิยม” (Monotheism) แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีการนับถือเทพองค์อื่นๆ ไปด้วยแต่ไม่ได้ยกย่องเป็นเทพสูงสุด ในช่วงหลังได้พัฒนาแนวความคิดให้เป็นปรัชญามากยิ่งขึ้น จึงเกิดคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของคัมภีร์พระเวทในนามของศาสนาฮินดู
แนวความคิดในปรัชญาอุปนิษัทได้พัฒนามาสู่ “เอกนิยม” อย่างสัมบูรณ์ นั่นคือมีความเชื่อในความจริงสูงสุดเพียงหนึ่งเดียว มีลักษณะเป็นอมตะ เที่ยงแท้แน่นอน และเป็นจุดหมายของมนุษย์ทุกคน เรียกว่า “พรหมัน” หรือ “ปรมาตมัน” แต่ความจริงที่ถูกเสนอโดยปรัชญาอุปนิษัทก็ถูกแย้งโดยพุทธศาสนา และศาสนาเชน ซึ่งทั้งสองแนวความคิดนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดในปรัชญาอุปนิษัท โดยศาสนาเชนได้เสนอความคิดเรื่องความจริงสูงสุดนั้นคือ การเข้าถึง “ไกรวัลย์” หรือโมกษะ ด้วยการชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์ด้วยการทรมานตนเองเท่านั้น
พัฒนาการความคิดจากคัมภีร์พระเวทนั้นมีหลายระดับ คือ เริ่มแรกเป็นความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าแบบ “พหุเทวนิยม” (Polytheism) นั่นคือการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นการยกย่องและให้การนับถือเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว เรียกว่า “เอกเทวนิยม” (Monotheism) แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีการนับถือเทพองค์อื่นๆ ไปด้วยแต่ไม่ได้ยกย่องเป็นเทพสูงสุด ในช่วงหลังได้พัฒนาแนวความคิดให้เป็นปรัชญามากยิ่งขึ้น จึงเกิดคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของคัมภีร์พระเวทในนามของศาสนาฮินดู
แนวความคิดในปรัชญาอุปนิษัทได้พัฒนามาสู่ “เอกนิยม” อย่างสัมบูรณ์ นั่นคือมีความเชื่อในความจริงสูงสุดเพียงหนึ่งเดียว มีลักษณะเป็นอมตะ เที่ยงแท้แน่นอน และเป็นจุดหมายของมนุษย์ทุกคน เรียกว่า “พรหมัน” หรือ “ปรมาตมัน” แต่ความจริงที่ถูกเสนอโดยปรัชญาอุปนิษัทก็ถูกแย้งโดยพุทธศาสนา และศาสนาเชน ซึ่งทั้งสองแนวความคิดนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดในปรัชญาอุปนิษัท โดยศาสนาเชนได้เสนอความคิดเรื่องความจริงสูงสุดนั้นคือ การเข้าถึง “ไกรวัลย์” หรือโมกษะ ด้วยการชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์ด้วยการทรมานตนเองเท่านั้น
พระมหาวีระ ผู้ก่อตั้งศาสนาเชน
ส่วนพุทธศาสนานั้นมีความคิดแย้งกับทั้งสองกระแสความคิด คือ พระเวทและศาสนาเชน โดยเสนอว่า การที่มนุษย์จะเข้าถึงความจริงสูงสุดได้นั้นจะต้องขจัดกิเลสด้วยการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ไม่ใช่ด้วยการอ้อนวอนเทพเจ้าหรือการทรมานร่างกายแต่อย่างใด พุทธศาสนาจึงเสนอความคิดเรื่อง “ไตรลักษณ์” คือ หลักอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และหลักการปฏิบัติแบบทางสายกลาง เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ การทำความเพียรชอบ การตั้งสติชอบ และการตั้งใจชอบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มรรค 8” ประการ
ความคิดจากอารยธรรมอินเดียได้แพร่กระจายได้ตามอาณาจักรต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะความคิดจากศาสนาฮินดูได้แพร่เข้าสู่อาณาจักรทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนก่อให้เกิดวิหารเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และวรรณคดีทางศาสนามากมาย ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาได้รับการยอมรับมากขึ้นและได้แพร่ขยายเข้ามาสู่ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะการแพร่ขยายไปตามเส้นทางสายไหมจากอินเดียสู่จีนและเปอร์เซีย แนวความคิดทางพุทธศาสนาก็เข้ามาเจริญแทนที่กระแสความคิดเดิม
ความคิดจากอารยธรรมอินเดียได้แพร่กระจายได้ตามอาณาจักรต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะความคิดจากศาสนาฮินดูได้แพร่เข้าสู่อาณาจักรทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนก่อให้เกิดวิหารเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และวรรณคดีทางศาสนามากมาย ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาได้รับการยอมรับมากขึ้นและได้แพร่ขยายเข้ามาสู่ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะการแพร่ขยายไปตามเส้นทางสายไหมจากอินเดียสู่จีนและเปอร์เซีย แนวความคิดทางพุทธศาสนาก็เข้ามาเจริญแทนที่กระแสความคิดเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น